การรักษาโรคภูมิแพ้ผิวหนัง


       1.ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง

       

       ทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นไม่แห้งกร้าน ขณะที่ผื่นมีน้ำเหลือง ควรทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือ 0.9%

       

       ถ้าผื่นแห้ง หรือ กระด้าง ควรหมั่นทาผิวด้วยครีมหรือโลชั่นที่ปราศจากน้ำหอมและแอลกอฮอล์ และควรทาหลังอาบน้ำทันทีเป็นประจำ

       

       ในรายที่ทาโลชั่นหรือครีมไม่ได้ผล อาจใช้ขี้ผึ้งหรือ วาสลีน ทาแทน

       

       ไม่ควรอาบน้ำอุ่น น้ำร้อน หรือ น้ำเย็นจัด

       

       ควรเลือกชนิดของสบู่ที่ปราศจากสารระคายเคือง เช่นน้ำหอม และใช้เฉพาะบริเวณที่จำเป็น เพราะจะทำให้สูญเสียไขมันที่ปกป้องผิวหนัง การใช้สบู่ที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เช่น สบู่ก้อน จะละลายไขมันที่ผิวหนังออกไป ทำให้ผื่นอักเสบมากขึ้น

       

       2. ยาลดอาการคัน

       

       ใช้ยารับประทานในกลุ่มต้านฮิสตามีน ซึ่งมีทั้งแบบง่วง และไม่ง่วง ออกฤทธิ์สั้น และออกฤทธิ์ยาว ยาแต่ละตัวมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป

       

       3.ยาต้านการอักเสบ

       

       ส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นยาทา ปัจจุบันมีทั้งแบบที่มีสเตียรอยด์ และแบบที่ไม่มีสเตียรอยด์

       

       ควรทายาภายใน 3 นาทีหลังอาบน้ำ ถูนวดเล็กน้อย ให้ยาซึมลงใต้ผิวหนัง

       

       ยาทาสเตียรอยด์ (Steroid)

       

       ออกฤทธิ์ลดการอักเสบของผิวหนัง ทำให้อาการแดง คัน ลดน้อยลง ผื่นดีขึ้น

       

       การเลือกใช้ยาทาสเตียรอยด์ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่กับ ลักษณะของผื่น ตำแหน่งของผื่น อายุของผู้ป่วย ระยะของโรค

       

       ถ้าใช้ต่อเนื่องนาน จะเกิดผลข้างเคียง ได้แก่ ผิวหนังบางลง บางรายอาจเห็นเส้นเลือดฝอย ขนยาวขึ้น ผิวแตกลาย สีผิวด่างขาว เป็นสิว และถ้าใช้ติดต่อกันนาน หรือทาในบริเวณกว้าง หรือทาผิวบริเวณที่มีการดูดซึมยาสูง อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ เช่น เป็นต้อหิน ต้อกระจก กดการทำงานของต่อมหมวกไต กดการเจริญเติบโตของเด็ก

       

       แบบที่ไม่มีสเตียรอยด์ Non steroidal topical immunomodulators

       

       ข้อเสีย ราคาแพง อาจมีอาการ แสบ ร้อน คันในตอนเริ่มทาครั้งแรกๆ

       

       ข้อดี ไม่ทำให้ผิวหนังฝ่อ หรือบางลง

       

       ไม่ควรทายาในบริเวณที่มีการติดเชื้อ จนกว่าจะรักษาให้หายก่อน เพราะอาจทำให้อาการติดเชื้อกำเริบขึ้น

       

       ยังไม่มีการศึกษาการใช้ยานี้ในทารกอายุต่ำกว่า 3 เดือน หญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร

       

       4.หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น

       

       เช่น เหงื่อ อากาศร้อน/เย็น/แห้ง

       

       ผ้าขนสัตว์ ผ้าเนื้อหยาบ กระด้าง

       

       ควรซักล้างผงซักฟอกออกให้หมดจากเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน

       

       หลีกเลี่ยงน้ำยาปรับผ้านุ่มที่ทำให้ระคายผิว

       

       หลีกเลี่ยงอาหาร และกำจัดสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้อาการกำเริบ

       

       5.ยาปฏิชีวนะ ใช้ในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งจะทำให้ผื่นกำเริบขึ้น

Allergy Library


การซักผ้าด้วยน้ำร้อน-น้ำเย็นกับการฆ่าตัวไรฝุ่น

การตรวจสอบคุณภาพผ้าป้องกันไรฝุ่น

การรักษาโรคภูมิแพ้ผิวหนัง

การลดการสัมผัสกับตัวไรฝุ่น และสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่น

การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ทำได้โดย

ตัวไรฝุ่นในที่นอน หมอน

ที่นอนที่ไม่มีไรฝุ่นมีจริงไหม

ที่อยู่ของตัวไรฝุ่น

นอนรวมกันหลายคนในห้องเดียวกัน จะหุ้มผ้ากันไรฝุ่นอย่างไร

ประโยชน์ของการป้องกันไรฝุ่นด้วยการใช้ผ้ากันไรฝุ่นที่มีคุณภาพดีได้มาตรฐาน

ปริมาณไรฝุ่นในบ้านคุณ

ผ้าห่ม ผ้านวม ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนกับการป้องกันไรฝุ่น

โรคที่จัดอยู่ในกลุ่มโรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ผิวหนัง, ผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ (Atopic dermatitis)

ไรฝุ่นกับโรคภูมิแพ้

วงจรชีวิตของตัวไรฝุ่น

สารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่น

สิ่งที่มักกระตุ้นให้อาการของโรคภูมิแพ้ผิวหนังกำเริบ

หมอนกับไรฝุ่น