การตรวจสอบคุณภาพผ้าป้องกันไรฝุ่น


       ประเทศไทย มีห้อง lab วิจัยไรฝุ่นของ ศูนย์บริการและวิจัยไรฝุ่นศิริราช ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ ของสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ (Textile testing center of Thailand Textile Institute) ที่สามารถตรวจคุณภาพของผ้ากันไรฝุ่นให้ได้อย่างแม่นยำ

       

       โดยมีการตรวจถึง 6 ขั้นตอน ได้แก่

       

       1.ทดสอบการทนต่อการเจาะไชของตัวไรฝุ่นด้วยความร้อน (Heat escapes method)

       

       โดยใช้การกระตุ้นให้ไรฝุ่นที่อยู่บนผ้าด้านหนึ่งหนีไปอีกด้านหนึ่ง โดยการใช้ความร้อนไล่เป็นเวลาประมาณ 15 นาที

       

       ถ้าผ้ากั้นไรฝุ่นไว้ได้ ไม่ยอมให้ไรฝุ่นผ่าน แปลว่า ผ้าคุณภาพดี

       

       2.ทดสอบการทนต่อการเจาะไชของตัวไรฝุ่น ด้วย siriraj chamber method

       

       โดยกักให้ตัวไรฝุ่นอยู่กับผ้าที่ทดสอบ 48 ชั่วโมง

       

       ถ้าผ้ากั้นไรฝุ่นไว้ได้ ไม่ยอมให้ไรฝุ่นผ่าน และไม่ให้ไรฝุ่นแทรกตัวก่อรังและเจริญเติบโตในเนื้อผ้าได้ แปลว่า ผ้าคุณภาพดี spacer_paragraph3. ทดสอบการกั้นมูลและคราบไรฝุ่น(Dust leakage measurement)

       

       โดยอาศัยหลักการว่า ถ้ารูของผ้ามีขนาดเล็กมาก จะกั้นไรฝุ่นไว้ ไม่ให้ทะลุไปอีกด้านได้

       

       ทดสอบด้วยการดูดฝุ่นที่มีตัวไรฝุ่น คราบ ซาก มูล ต่างๆ ของไรฝุ่น โดยการเอาผ้ากันไรฝุ่นกั้นกลางไว้ระหว่างฝุ่นดังกล่าวกับเครื่องดูดฝุ่น แล้วชั่งน้ำหนักของฝุ่นที่ผ่านผ้าไปได้ เทียบกับน้ำหนักฝุ่นทั้งหมดก่อนทดสอบ

       

       ถ้าฝุ่นรั่วผ่านไปได้ ต่ำกว่า 5 % ถือว่ากั้นไรฝุ่นได้ผล

       

       ถ้าค่าเปอร์เซ็นต์ ฝุ่นรั่วผ่าน ต่ำลงไปกว่า 5% อีก ก็แสดงว่า ผ้ายิ่งมีคุณภาพดีขึ้น spacer_paragraph4. ทดสอบการกั้นสารก่อภูมิแพ้ (Allergen measurement)

       

       วัดปริมาณสารก่อภูมิแพ้ของไรฝุ่น ที่เล็ดลอดจากการดูดฝุ่น ผ่านตัวอย่างผ้าในการทดสอบ ผ้าที่มีรูขนาดเล็ก ก็จะกั้นสารก่อภูมิแพ้ไว้ ไม่ให้ผ่านผ้าไปได้

       

       การแปลผล ถ้ายิ่งกั้นได้เปอร์เซ็นต์สูงแปลว่า ผ้าคุณภาพดี

       

       เกณฑ์ยอมรับคือ กั้นได้มากกว่า 99 %

       

       5. ตรวจนับจำนวนรวมเส้นด้ายต่อตารางนิ้ว ( Thread counts)

       

       โดยค่ามาตรฐานคือ 240 เส้นต่อตารางนิ้ว

       

       เน้นว่า หน่วยที่วัดนั้นวัดต่อตารางนิ้ว แต่ผ้าปูที่นอนที่ขายในท้องตลาดส่วนหนึ่งจะแจ้งเป็น กี่เส้นต่อ 10 ตารางเซนติเมตร แบบนี้ก็จะออกมาประมาณ 370 เส้น ต่อ 10 ตารางเซนติเมตร

       

       การที่ผ้ามีจำนวนเส้นด้ายต่อตารางนิ้วสูงๆ นั้น ไม่ได้แปลว่า จะกันไรฝุ่นได้ดีเสมอไป หรือดียิ่งขึ้นไปเป็นสัดส่วนกัน เพราะถ้าเส้นใยที่นำมาถักทอมีขนาดเล็ก ก็ย่อมต้องมีจำนวนเส้นด้ายต่อตารางนิ้วมากกว่าเส้นใยที่ขนาดโตกว่าอยู่แล้ว

       

       เส้นใยเล็กๆ แม้มีจำนวนมาก แต่ถ้าถักทอหลวม ไม่เรียงกันจนแน่นชิด ไรฝุ่นก็ลอดผ่านได้ค่ะ

       

       6.ทดสอบการซึมผ่านของอากาศ (Air permeability)

       

       ถ้าได้ต่ำกว่า 10 ลบ ซม/วินาที/ตร.ซม. ถือว่าดี

       

       ยิ่งค่าต่ำ แปลว่า อากาศลอดผ่านน้อย ไรฝุ่นก็ลอดผ่านน้อยด้วย

       

       แต่ถ้าอากาศไม่ลอดผ่านเลย เวลาเอามาใช้ปูนอนก็จะอบอ้าว

Allergy Library


การซักผ้าด้วยน้ำร้อน-น้ำเย็นกับการฆ่าตัวไรฝุ่น

การตรวจสอบคุณภาพผ้าป้องกันไรฝุ่น

การรักษาโรคภูมิแพ้ผิวหนัง

การลดการสัมผัสกับตัวไรฝุ่น และสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่น

การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ทำได้โดย

ตัวไรฝุ่นในที่นอน หมอน

ที่นอนที่ไม่มีไรฝุ่นมีจริงไหม

ที่อยู่ของตัวไรฝุ่น

นอนรวมกันหลายคนในห้องเดียวกัน จะหุ้มผ้ากันไรฝุ่นอย่างไร

ประโยชน์ของการป้องกันไรฝุ่นด้วยการใช้ผ้ากันไรฝุ่นที่มีคุณภาพดีได้มาตรฐาน

ปริมาณไรฝุ่นในบ้านคุณ

ผ้าห่ม ผ้านวม ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนกับการป้องกันไรฝุ่น

โรคที่จัดอยู่ในกลุ่มโรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ผิวหนัง, ผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ (Atopic dermatitis)

ไรฝุ่นกับโรคภูมิแพ้

วงจรชีวิตของตัวไรฝุ่น

สารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่น

สิ่งที่มักกระตุ้นให้อาการของโรคภูมิแพ้ผิวหนังกำเริบ

หมอนกับไรฝุ่น